หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ เนื้อเงินลงยา ครบ 7 รอบ ( เนื้อเงิน + หนังเสือ )
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
|||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
นิวพระเครื่องบัวใหญ่ | ||||||||||||||||
โดย
|
new | ||||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ | ||||||||||||||||
ชื่อพระ
|
หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ เนื้อเงินลงยา ครบ 7 รอบ ( เนื้อเงิน + หนังเสือ ) |
||||||||||||||||
รายละเอียด
|
ประวัติพระครูคงคนครพิทักษ์ (หลวงปู่คง ฐิติปัญโญ) ประวัติ หลวงปู่คง ฐิติปัญโญ อดีตเจ้าคณะอำเภอคงกิตติมศักดิ์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดตะคร้อ พระมหาเถระผู้เปี่ยมด้วยเมตตา ชาติภูมิ พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปัญโญ) น.ธ.เอก ป.ธ.๔นามเดิม คง เทพนอก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๐พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ปีกุน ณ บ้านคอนเมือง หมู่ ๒ ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายพูน และนางแย้ม เทพนอก ซึ่งมีอาชีพทำนา ทำไร่ มีพี่น้อง ร่วมบิดา มารดา รวม ๗คน ตามลำดับดังนี้ ๑. พระครูคงคนครพิทักษ์ (หลวงปู่คง ฐิติปัญโญ) ๒. ด.ช. อิ่ม เทพนอก ถึงแก่กรรม เมื่อยังเป็นเด็กเล็ก ๓. นายสี เทพนอก ถึงแก่กรรมแล้ว ๔. นายดำ เทพนอก ถึงแก่กรรมแล้ว ๕. นายสนิท เทพนอก ถึงแก่กรรมแล้ว ๖. นายหลง สุทธิแสวง ถึงแก่กรรมแล้ว ๗. นายเพิ่ม เทพนอนก ถึงแก่กรรมแล้ว ชีวิตในวัยเด็ก ในวัยเด็กนั้น หลวงปู่เป็นคนขยัน หมั่นเพียร เอาการเอางาน หลวงปู่ไปอาศัยอยู่ กับหลวงพ่อหมั่น ที่วัดบ้านคอนเมือง เพื่อจะได้ศึกษา เล่าเรียน ปฐม ก กา ให้อ่านออกเขียนได้ ทั้งอักษรขอม อักษรไทย ืชีวิตเด็กวัด ทำให้หลวงปู่ได้เรียนรู้ หลายสิ่ง หลายอย่าง อาชีพ ประกอบอาชีพกสิกรรม ทำนา ทำสวน ช่วยบิดา มารดา มาโดยตลอด นอกจากนี้ยังเลี้ยงกระบือ และทำงานบ้าน ในฐานะเป็นพี่ชายคนโต ต้องทำงานหนัก ตรากตรำ มากกว่าคนอื่น ๆ ตั้งแต่เด็กจนโต หัดไถนาปักดำ ถอนกล้า เกี่ยวข้าว และหาบข้าว จากนา มาบ้าน ช่วยบิดา มารดา ทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ หน้าที่ ของท่านทั้งสอง แม้จะเป็นเด็กวัด เด็กชายคง ก็ไม่เคยทิ้งทางบ้าน ถึงเวลาทำนา ทำไร่ ก็จะไปช่วยงาน คุณบิดา มารดา หลวงเล่าว่า ท่านทำทุกอย่าง ในสมัยนั้น ไม่ว่าจะไถนา ขุดดิน กั้น คัน นา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว ตีข้าว ในใจของท่าน ไม่เคยมีคำว่า "ไม่ได้" มีแต่คำว่า "ได้" และสู้อดทน กับการทำหน้าที่ ของตนอย่างเข้มแข็ง การศึกษา เนื่องจากโรงเรียนอยู่ห่างไกล การคมนาคมไม่สดวกกอปรกับทางราชการยังไม่ได้บังคับกฎเกณฑ์ว่าจะมีอายุเท่าไหร่จะต้องเข้าโรงเรียน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ทางราชการ ได้มาเปิดโรงเรียนที่วัดคอนเมือง โดยมีนายเพชรศรีชา ซึ่งอยู่บ้านดอนตัดเรือน อำเภอโนนแดง เป็นครูใหญ่ และนายวัน ชำนินก ขณะนั้นหลวงปู่คงมีอายุ ๑๔ ปีแล้ว ๑. ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดบ้านคอนเมือง ตำบลเทพาลัย อำเภอคง ๒. ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๓. ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เนื่องจากเจริญวัยขึ้น ขณะอายุ ๑๖ ปี ได้ลาออกจากโรงเรียน วัดคอนเมืองไปอยู่กับคุณอายิ้ม เทพนอก ซึ่งเป็นญาติ และเคยบวชที่วัดอิสาน มาหลายปี โดยพาไปฝากเป็นศิษย์วัด อิสาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และได้เรียนหนังสือนักธรรมตรีไปด้วย ปฐมบรรพชา เมื่ออายุได้ ๑๖ ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่วัดอิสาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยพระอุปัฌาย์ ได้จำพรรษาและเรียนนักธรรมตรีอยู่ที่นั้น ปีพ.ศ. ๒๔๗๑ สอบนักธรรมตรีได้ที่สำนักพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง ซึ่งขณะนั้นมี พระมงคลสีหราชมุนี เป็นเจ้าขณะจังหวัด ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ลาสิขากลับไปอยู่บ้านคอนเมือง บวชได้ ๒ ปี ก็ต้องลาสิขา เหตุผลเพราะว่าไม่มีคนช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ และต้องดุแลน้อง ๆ อีกประการหนึ่งในตอนนั้นตนเองก็เป็นลูกชายคนโต มีความห่วงใยทุก ๆคนในครอบครัว จึงได้ตัดสินใจลาสิขาเพื่อมาช่วยบิดา มารดาทำนาทำไร่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๔ มูลเหตุอุปสมบท ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย ในฐานะเป็นชาวพุทธต้องบวชเป็นพระ ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ประพฤติปฎิบัติธรรมให้พ่อแม่ได้ชื่นใจ หรือคนส่วนใหญ่มักพูดว่า บวชเป็นพระให้พ่อแม่เกาะชายผ้าเหลือง อุปสมบทตลอดชีวิต อายุ ๒๒ ปี ด้วยใจที่ตระหนักในพระคุณของพ่แม่จึงได้ตัดสินใจอุปสมบท ณ วัดบ้านวัด ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๕ โดยมีพระครูสีลวิสุทธิพรต เจ้าคณะอำเภอ พิมาย และเจ้าอาวาสวัดเดิม เป็นพระอุปัชาฌาย์ พระอาจารย์ทองสูข สุชาโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทิม สุมโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิติปัญโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาตั้งมั่น การศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๙ จบชั้นประถมปีที่ ๓ ที่โรงเรียนประชาบาลวัด บ้านคอนเมือง ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เรียนนักธรรมโท ที่สำนักเรียนวัดหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้ไปเรียนนักธรรมเอก โดยเรียนบาลีที่วัดบึง มีพระมหาเทียนเป็นครูสอน และไปเรียนธรรมะที่วัดสุทธจินดา สามารสอบนักธรรมเอกได้ ที่สำนักเรียนวัดสุทธจินดา ต่อมาได้ไปเรียนบาลีไวยากรณ์เพิ่มเติมที่วัดบ้านดอนตัดเรือ อำเภอโนนแดง กับพระปทุมญาณมุนี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๘๐ พระปทุมญาณมุนี ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบัวใหญ่ ได้เป็นเจ้าคณะ อำเภอบัวใหญ่ และเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายตามไปอยู่ที่วัดบัวใหญ่ด้วย เพื่อศึกษา วิปัสสนาธุระ โดย โดย ปฏิบัติอุปัฏฐาก และรับใช้พระคุณท่านในตำแหน่งเลขานุการ ตลอดมาถึงปี พ.ศ.๒๔๘๖ พ.ศ.๒๔๘๗ ได้เริ่มเทศน์โปรดญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมในวันพระ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พ.ศ.๒๔๘๘ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๔๘๙ ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดบัวใหญ่ เพื่อสนองงานพระปทุมญาณมุนี และศึกษา วิปัสสนาธุระ พระธรรมวินัย ตลอดจนพระไตรปิฎก เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น บางครั้งญาติโยมนิมนต์ไปเทศน์ในงานต่าง ๆซึ่งการเดินทางไปเทศน์นั้นลำบากมากเนื่องจากถนนหนทางทรุกันดาร ไม่เจริญเหมือนสมัยปัจจุบัน ถ้าระยะทางใกล้ ๆ ก็จะเดินเท้าถ้าระยะไกล ๆ ก็ต้องขี่ม้า เป็นบางครั้งที่ไม่ทันฉันภัตตาหารเพล เพราะการเดินทางไกล เมื่อถึงบ้านเจ้าภาพก็ล่วงเลยเวลาเที่ยงวัน ( ๑๒ .๐๐น.) ต้องฉันน้ำปานะแทน ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จนถึง พ. ศ. ๒๔๙๓เมื่อมีเวลาว่างก็ปฏิบัติรับใช้ท่านเจ้าคุณพระปทุมญาณมุนี ทั้งในตำแหน่งเลขานุการและอุปัฏฐาก นอกจากนี้ยังได้ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนาธุระอยู่เป็นประจำ ตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นครูสอนนักธรรมและบาลี วัดบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นเลขานุการเจ้าคณะ อำเภอบัวใหญ่ พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นเจ้าอาวาสวัดตะคร้อ และเจ้าคณะอำเภอคง ช่วงระยะนี้หลวงปู่คงต้องทำงานหนักมากขึ้น ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในฐานะเจ้าอาวาสวัดตะคร้อ และต้องดูแลวัดต่าง ๆ ในเขตอำเภอคง พร้อมกับปฏิบัติวิปัสสนาธุระอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมสงฆ์ อำเภอคงอีกตำแหน่งหนึ่ง สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในพระราชทินนามที่ พระครูคงคนครพิทักษ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษในพระราชทินนามที่ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ. ศ .๒๕๔๘ หลวงปู่คงท่านก็มรณภาพ ละสังขารจากพวกเราไป คงเหลือแต่ความเมตตากรุณา คุณงาม ความดี ที่ท่านได้สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา ได้เป็นคนดีแก่สังคม และศาสนสถานในวัดตะคร้อไว้เป็นสิ่งเตือนใจ |
||||||||||||||||
ราคา
|
- | ||||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0807994609 | ||||||||||||||||
ID LINE
|
new0807994609 | ||||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
882 ครั้ง | ||||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ยังไม่ส่งข้อมูล
|
||||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | |||||||||||||||||
|